The Fans of Rank of the Monks of Wat Paknam Bhasi Charoen
The Fans of Rank and the Secondary Fans of the Monks of Wat Paknam Bhasi Charoen
The fans of rank are honorary paraphernalia the king bestows upon Buddhist monks in appreciation for their contribution to the progress of the nation and the religion, as well as their moral integrity, their propagation of Buddhist teachings, and their competence in governing the monk communities. As the ecclesiastical peerage of Thailand consists of a number of ranks, there are many classes of the fans, each indicating a rank of a particular receiver.
The Talipot Fans and the Secondary Fans
The secondary fans are talipot fans used by Buddhist monks when performing religious rites. The fans in the past were made of palm leaves cut into a circle, but later cloth replaced the leaves. During the reign of King Rama V, the art of making the fans was so popular that competition among the fan makers was intense, resulting in more and more intricate designs. The trend declined during the reign of Rama VII, as the fans had become expensive.
The art has been brought back to life during the reign of King Rama IX by Her Majesty Queen Sirikit. Exquisite fans have been made and given to monks in occasions of royal, state, and other ceremonies.
The Great Chedi of Maha Ratchamongkhon houses the fans of rank from the highest rank the monks of the temple has been bestowed upon to the lowest. The displayed secondary fans, now over 2,000 items, have been donated from 1912 to the present.
The fans of rank of Phra Racha Khana, the third highest rank in the Thai ecclesiastical peerage
The secondary fans used in royal ceremonies associated with King Rama IX
ตาลปัตร พัดยศ พัดรอง ของวัดปากน้ำภาษีเจริญ
พัดยศ คือเครื่องประกอบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณุปการต่อประเทศชาติและพระศาสนา และเป็นการเชิดชูเกียรติพระเถระรุปนั้นๆ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และมีความสามารถในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงทรงยกย่องให้ปรากฏเป็นรุปธรรม พัดยศเป็นเครื่องบ่งบอกชั้นยศแต่ละชั้นของพระสงฆ์ผู้ได้รับ ถือเป็นสัญญลักษณ์แห่งการประกาศเกียรติคุณของพระสงฆ์ไทย
ตาลปัตรและพัดรอง
ตาลปัตรคือพัดอันเล็กๆที่พระสงฆ์ใช้ในการพัดวีไล่แมลงและไล่กลิ่นเหม็นจากซากศพเมื่อยามที่ต้องไปบังสุกุลชักผ้าตามป่าช้าหรือที่เผาศพคนตาย เดิมใช้เป็นตาลปัตรทำจากใบตาลรูปกลมมน พระสงฆ์ลังกาและพม่ายังใช้รูปแบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน คณะสงฆ์สยามได้ปรับมาใช้พัดในเครื่องประกอบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ แต่ยังคงมีใช้ในการชักผ้าบังสุกุลจึงเรียกพัดรอง แต่ได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของพัดไปจากเดิมมาก วัสดุก็ยักเยื้องมาเป็นผ้าไหม ผ้าทอ ผ้าปัก ผ้าลายตามยุคสมัย ประกอบกับแนวโน้มความนิยมงานช่างฝีมือในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของกรุงรัตนโกสินทร์พุ่งสูงขึ้น ทำให้มีการออกแบบและแข่งขันกันทำพัดรองอย่างวิจิตรพิศดารมากขึ้นและเริ่มเสื่อมความนิยมลงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากมีราคาแพง วัสดุขาดแคลน และใช้ประโยชน์ได้น้อยครั้ง
ปัจจุบันการทำพัดรองได้รับการฟื้นฟูโดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติย์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และยังมีการทำตาลปัตรพัดรองที่สวยงามถวายพระสงฆ์ตามงานพิธีสำคัญๆ เช่นพระราชพิธี งานรัฐพิธี หรืองานสำคัญอื่นๆ ตลอดรัชกาล
พัดยศที่จัดแสดงในพระมหาเจดีย์มหารัชมงคลนี้ จัดแสดงพัดยศในลำดับสูงสุดที่วัดปากน้ำได้รับพระราชทานลงมา ส่วนพัดรองเป็นของที่ได้รับถวายตามงานที่สำคัญๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๕ จนถึงปัจจุบัน จำนวนกว่า ๒๐๐๐ เล่ม