ทำพิพิธภัณฑ์อย่างไร ๑
อัพเดทล่าสุด: 23 มิ.ย. 2025
291 ผู้เข้าชม
ทำพิพิธภัณฑ์อย่างไร ๑
ปกติเวลาเราไปเที่ยวตามสถานที่สำคัญๆ เมืองประวัติศาสตร์ หรือแหล่งท่องเที่ยว จะมีพิพิธภัณฑ์ประจำเมือง ประจำท้องถิ่นทั้งพิพิธภัณฑ์ของส่วนราชการ หรือเอกชน ของวัด ของอาราม หรือแม้แต่ชาวบ้านบางท่าน ช่างศิลป์นักเขียน นักต่อสู้ทางสังคม ให้เราเข้าชมประวัติความเป็นมาสิ่งของเครื่องใช้ ผลงาน วีรกรรมที่ผ่านมาให้นักท่องเที่ยวได้แสวงความรู้เป็นประสบการณ์
ยังมีหลายๆหน่วยงานที่ยังคงมองว่าการทำพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้ทุนทรัพย์ ต้องมีอาคารห้องจัดแสดงรวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ล้วนเป็นการสิ้นเปลืองและเกรงกลัวการสูญหายของโบราณวัตถุ ในบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆคือ วัด (พระอาราม)
ความยากง่ายของการทำพิพิธภัณฑ์ของวัดคือสถานที่และผู้เฝ้า แรกจัดอาจะใช้สถานที่เพียงเล็กน้อย จัดไปจัดมานานๆไปก็จะมีของมากขึ้น สุดท้ายส่วนมากที่ผู้เขียนพบเจอคือไม่มีระบบทะเบียนของ ของก็จะเข้าๆออกๆ ห้องจัดแสดงเมื่อนานๆไปก็จะกลายเป็นที่พักหรือบ้านของผู้เฝ้า ของจัดแสดง โบราณวัตถุก็จะปะปนไปกับข้าวของส่วนตัว สังฆทาน อาสนะ บริขาร นานๆไปก็แยกไม่ออก
ในอีกมุมหนึ่ง การทำพิพิธภัณฑ์บางครั้งก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่อาคารโอ่โถงใหญ่โตหรือสวยงาม เพียงมีมุมหรือห้องเล็กๆ มีตู้จัดแสดง หรือบางอย่างเป็นของที่วางภายนอกได้ จัดวางให้เป็นระเบียบไม่เกะกะ มีป้ายคำบรรยาย ป้ายเตือน ให้เห็นชัด เช่นห้ามจับ แต่ควรแยกของใช้ของบริจาคของวัดไว้เป็นสัดเป็นส่วนกันไป สำคัญควรบอกเวลาปิดเปิดให้ชัดเจน
หรือไม่สะดวกเปิดห้องให้เข้าชมใช้วิธีเปิดเพียงวันหยุด วันสำคัญ นานๆทีเปิดจะฝึกหัดไกด์ไว้นำนักท่องเที่ยวเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก็ยังได้ พิพิธภัณฑ์บางแห่งเปิดให้เข้าชมเพียงปีละครั้งสองครั้ง ผู้ชมก็เฝ้ารอเข้าชมกันอย่างเนืองแน่นไม่ว่าจะเฝ้ารอนานแค่ไหน
ปกติเวลาเราไปเที่ยวตามสถานที่สำคัญๆ เมืองประวัติศาสตร์ หรือแหล่งท่องเที่ยว จะมีพิพิธภัณฑ์ประจำเมือง ประจำท้องถิ่นทั้งพิพิธภัณฑ์ของส่วนราชการ หรือเอกชน ของวัด ของอาราม หรือแม้แต่ชาวบ้านบางท่าน ช่างศิลป์นักเขียน นักต่อสู้ทางสังคม ให้เราเข้าชมประวัติความเป็นมาสิ่งของเครื่องใช้ ผลงาน วีรกรรมที่ผ่านมาให้นักท่องเที่ยวได้แสวงความรู้เป็นประสบการณ์
ยังมีหลายๆหน่วยงานที่ยังคงมองว่าการทำพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้ทุนทรัพย์ ต้องมีอาคารห้องจัดแสดงรวมถึงมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ล้วนเป็นการสิ้นเปลืองและเกรงกลัวการสูญหายของโบราณวัตถุ ในบทความนี้จะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆคือ วัด (พระอาราม)
ความยากง่ายของการทำพิพิธภัณฑ์ของวัดคือสถานที่และผู้เฝ้า แรกจัดอาจะใช้สถานที่เพียงเล็กน้อย จัดไปจัดมานานๆไปก็จะมีของมากขึ้น สุดท้ายส่วนมากที่ผู้เขียนพบเจอคือไม่มีระบบทะเบียนของ ของก็จะเข้าๆออกๆ ห้องจัดแสดงเมื่อนานๆไปก็จะกลายเป็นที่พักหรือบ้านของผู้เฝ้า ของจัดแสดง โบราณวัตถุก็จะปะปนไปกับข้าวของส่วนตัว สังฆทาน อาสนะ บริขาร นานๆไปก็แยกไม่ออก
ในอีกมุมหนึ่ง การทำพิพิธภัณฑ์บางครั้งก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่อาคารโอ่โถงใหญ่โตหรือสวยงาม เพียงมีมุมหรือห้องเล็กๆ มีตู้จัดแสดง หรือบางอย่างเป็นของที่วางภายนอกได้ จัดวางให้เป็นระเบียบไม่เกะกะ มีป้ายคำบรรยาย ป้ายเตือน ให้เห็นชัด เช่นห้ามจับ แต่ควรแยกของใช้ของบริจาคของวัดไว้เป็นสัดเป็นส่วนกันไป สำคัญควรบอกเวลาปิดเปิดให้ชัดเจน
หรือไม่สะดวกเปิดห้องให้เข้าชมใช้วิธีเปิดเพียงวันหยุด วันสำคัญ นานๆทีเปิดจะฝึกหัดไกด์ไว้นำนักท่องเที่ยวเข้าชมพิพิธภัณฑ์ก็ยังได้ พิพิธภัณฑ์บางแห่งเปิดให้เข้าชมเพียงปีละครั้งสองครั้ง ผู้ชมก็เฝ้ารอเข้าชมกันอย่างเนืองแน่นไม่ว่าจะเฝ้ารอนานแค่ไหน
บทความที่เกี่ยวข้อง
The Fans of Rank and the Secondary Fans of the Monks of Wat Paknam Bhasi Charoen
24 พ.ค. 2025