การค้นพบสมุดไทย ใบลาน สมัยอยุธยา วัดปากน้ำภาษีเจริญ
อัพเดทล่าสุด: 3 พ.ค. 2025
87 ผู้เข้าชม
สมุดไทย ใบลาน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ในแวดวงของการศึกษาจารึกผ่านสมุดไทย สมุดข่อย และใบลานนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันก็ยังมีค้นพบประเด็นหรือสิ่งใหม่ๆให้ตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ เพราะแน่นอนว่าตั้งแต่สมัยเมื่อแรกมีการจดจารลงในสมุดไทยใบลานจนถึงสมัยเมื่อมีการพิมพ์หนังสือฝรั่งเมื่อในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้วนั้น กาลเวลากว่าห้าหกร้อยปีได้สร้างสมุดไทยใบลานไว้ในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนานี้ไว้เป็นจำนวนมาก ว่ากันเฉพาะใบลานก็น่าจะนับเป็นล้านๆชิ้น สุดวิสัยที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ผู้อ่านจารึกจะรวบรวมอ่านได้หมดสิ้น การจะพบเจอสิ่งใหม่ๆในสเต็ปที่ค่อยๆก้าวทีละก้าวนับว่าเป็นธรรมดายิ่งของการค้นคว้าศึกษาจารึกอักษรโบราณ
เมื่อต้นปี ๒๕๖๗ ณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ ที่โด่งดังจากสำนักวิปัสสนาจารย์มาจนถึงสมัยเมื่อมีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมที่สร้างพระมหาเปรียญไว้เป็นเกียรติประวัติของวัดปากน้ำอย่างมากมาย พระมหาเปรียญนาคหลวงศิษย์เอกวัดปากน้ำนามกรว่า พระมหาพงศภรณ์ ณฎฺฐวํโส ป.ธ.๙ ซึ่งสนใจภาษาโบราณโดยได้ลงเรียนปริญญาโทที่ภาควิชาจารึกภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ใช้เวลาว่างมาค้นหาใบลานเก่าซึ่งเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องสมุดมงคลสิริ วัดปากน้ำ ใบลานซึ่งมีเป็นจำนวนมากนี้เก็บไว้อย่างดีในห่อผ้าและลังพลาสติกกันมดแมลง พระมหาพงศภรณ์ได้อุสาหะนั่งค้นนั่งอ่านจนเจอบางอย่างที่ท่านรู้สึกว่านี่ไม่ธรรมดาเสียแล้ว จึงได้ชักชวนสหายธรรมผู้สนใจในศาสตร์อักษรโบราณมาร่วมงานค้นคว้านี้และขยายไปจนเป็นกองงานเพื่ออนุรักษ์สมุดไทยและใบลานวัดปากน้ำภายในเวลาไม่นาน
โดยมีรุ่นพี่ พระมหาภาสกร ธมฺมวทญฺญู ป.ธ.๙ วัดพระธรรมกาย,พระมหาพงศภรณ์ ณฎฺฐวํโส ป.ธ.๙ วัดปากน้ำ,พระมหาญาณกร อคฺคธีโร ป.ธ.๘ วัดสระเกศฯ เป็นผู้อ่าน พระมหาอาชัญ มหาชญฺโญ ป.ธ.๙ วัดปากน้ำ เป็นผู้แปล ในการทำงานร่วมกันในหลายสัปดาห์นี้ได้ค้นพบใบลานฉบับหลวงหลายสำรับ ใบลานสมัยอยุธยารัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ใบลานอยุธยารัชกาลสมเด็จพระนารายณ์อีกจำนวนมาก จึงนำความไปปรึกษากับภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ามาสำรวจเบื้องต้น
และในวันเดือนปีที่ ๑ - ๒ มีนาคม และ ๘ - ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘ ด้วยความร่วมมือของภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการนำของ อ. ดร. อุเทน วงศ์สถิตย์ อ.อาภาโสม ฉายแสงจันทร์ (หัวหน้าภาควิชา) อ. ดอกรัก พยัคศรี อ. ดร. ชัชพิสิฐ ปาชะนี และ อ.พอพล สุกใส (อ.ประจำวิชา และผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้นำนักศึกษา ลงพื้นที่สำรวจ ทำทะเบียน และถ่ายภาพดิจิทัล คัมภีร์ใบลาน และสมุดไทย ที่เก็บรักษา ณ ห้องสมุดมงคลสิริ วัดปากน้ำ
พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ แม่กองบาลีสนามหลวง กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๕ เมตตาอนุญาติให้คณะทำงานเข้าพื้นที่
ติดตามรายละเอียดการศึกษาได้ที่
เพจเฟสบุ๊ค รอยลาน ณ บางหลวง
https://www.facebook.com/profile.php?id=61573987670015
ในแวดวงของการศึกษาจารึกผ่านสมุดไทย สมุดข่อย และใบลานนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันก็ยังมีค้นพบประเด็นหรือสิ่งใหม่ๆให้ตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ เพราะแน่นอนว่าตั้งแต่สมัยเมื่อแรกมีการจดจารลงในสมุดไทยใบลานจนถึงสมัยเมื่อมีการพิมพ์หนังสือฝรั่งเมื่อในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้วนั้น กาลเวลากว่าห้าหกร้อยปีได้สร้างสมุดไทยใบลานไว้ในดินแดนแห่งพระพุทธศาสนานี้ไว้เป็นจำนวนมาก ว่ากันเฉพาะใบลานก็น่าจะนับเป็นล้านๆชิ้น สุดวิสัยที่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ผู้อ่านจารึกจะรวบรวมอ่านได้หมดสิ้น การจะพบเจอสิ่งใหม่ๆในสเต็ปที่ค่อยๆก้าวทีละก้าวนับว่าเป็นธรรมดายิ่งของการค้นคว้าศึกษาจารึกอักษรโบราณ
เมื่อต้นปี ๒๕๖๗ ณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ ที่โด่งดังจากสำนักวิปัสสนาจารย์มาจนถึงสมัยเมื่อมีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมที่สร้างพระมหาเปรียญไว้เป็นเกียรติประวัติของวัดปากน้ำอย่างมากมาย พระมหาเปรียญนาคหลวงศิษย์เอกวัดปากน้ำนามกรว่า พระมหาพงศภรณ์ ณฎฺฐวํโส ป.ธ.๙ ซึ่งสนใจภาษาโบราณโดยได้ลงเรียนปริญญาโทที่ภาควิชาจารึกภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ใช้เวลาว่างมาค้นหาใบลานเก่าซึ่งเก็บรวบรวมไว้ที่ห้องสมุดมงคลสิริ วัดปากน้ำ ใบลานซึ่งมีเป็นจำนวนมากนี้เก็บไว้อย่างดีในห่อผ้าและลังพลาสติกกันมดแมลง พระมหาพงศภรณ์ได้อุสาหะนั่งค้นนั่งอ่านจนเจอบางอย่างที่ท่านรู้สึกว่านี่ไม่ธรรมดาเสียแล้ว จึงได้ชักชวนสหายธรรมผู้สนใจในศาสตร์อักษรโบราณมาร่วมงานค้นคว้านี้และขยายไปจนเป็นกองงานเพื่ออนุรักษ์สมุดไทยและใบลานวัดปากน้ำภายในเวลาไม่นาน
โดยมีรุ่นพี่ พระมหาภาสกร ธมฺมวทญฺญู ป.ธ.๙ วัดพระธรรมกาย,พระมหาพงศภรณ์ ณฎฺฐวํโส ป.ธ.๙ วัดปากน้ำ,พระมหาญาณกร อคฺคธีโร ป.ธ.๘ วัดสระเกศฯ เป็นผู้อ่าน พระมหาอาชัญ มหาชญฺโญ ป.ธ.๙ วัดปากน้ำ เป็นผู้แปล ในการทำงานร่วมกันในหลายสัปดาห์นี้ได้ค้นพบใบลานฉบับหลวงหลายสำรับ ใบลานสมัยอยุธยารัชกาลพระเจ้าทรงธรรม ใบลานอยุธยารัชกาลสมเด็จพระนารายณ์อีกจำนวนมาก จึงนำความไปปรึกษากับภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ามาสำรวจเบื้องต้น
และในวันเดือนปีที่ ๑ - ๒ มีนาคม และ ๘ - ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘ ด้วยความร่วมมือของภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการนำของ อ. ดร. อุเทน วงศ์สถิตย์ อ.อาภาโสม ฉายแสงจันทร์ (หัวหน้าภาควิชา) อ. ดอกรัก พยัคศรี อ. ดร. ชัชพิสิฐ ปาชะนี และ อ.พอพล สุกใส (อ.ประจำวิชา และผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้นำนักศึกษา ลงพื้นที่สำรวจ ทำทะเบียน และถ่ายภาพดิจิทัล คัมภีร์ใบลาน และสมุดไทย ที่เก็บรักษา ณ ห้องสมุดมงคลสิริ วัดปากน้ำ
พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ แม่กองบาลีสนามหลวง กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๕ เมตตาอนุญาติให้คณะทำงานเข้าพื้นที่
ติดตามรายละเอียดการศึกษาได้ที่
เพจเฟสบุ๊ค รอยลาน ณ บางหลวง
https://www.facebook.com/profile.php?id=61573987670015
บทความที่เกี่ยวข้อง
เครื่องถ้วยชุดน้ำชาลายคราม ลายอักษรพระนามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จปร สั่งทำในเมืองจีนเมื่อปีชวด พุทธศักราช ๒๔๓๑
29 เม.ย. 2025